วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

10 อันดับ สถานที่น่าท่องเที่ยวที่ในนิวซีแลนด์



• Abel Tasman
        ตั้งอยู่ในเขตที่มีแสงแดดสดใสที่สุดในนิวซีแลนด์บนยอดเกาะ South Island อุทยานแห่งชาติ Abel Tasman เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สมบูรณ์แบบสำหรับกิจกรรมเพื่อความสนุกสนานและผ่อนคลาย คุณสามารถเดินเขาไปตามเส้นทางเลียบชายฝั่งอันงดงามซึ่งมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า “Great Walks” ของประเทศนิวซีแลนด์ การเดินทางนี้จะใช้เวลาประมาณ 4 หรือ 5 วัน คุณจะได้นอนหลับใต้แสงดาวหรือพักค้างคืนในโรงแรม วิธีการเยี่ยมชมอุทยานแห่งชาติที่เป็นที่นิยมคือการพายเรือคายัคทะเลโดยโปรแกรมทัวร์ที่มีให้บริการ คุณอาจใช้เวลาทั้งวันเพลิดเพลินไปกับหาดทรายอันงดงามเลียบชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ที่ส่องประกายระยิบระยับรวมถึงการชมแมวน้ำ ปลากระเบน ปลาโลมาและนกพื้นเมืองหลายร้อยสายพันธุ์ในป่าเขียวชอุ่ม
• Auckland
         เมือง Auckland ของนิวซีแลนด์เทียบเท่าได้กับเมือง Sydney โดยมีชื่อเสียงในฐานะเมืองแห่งการแล่นเรือใบ เป็นเมืองที่มีความเป็นสากลและทันสมัยที่ล้อมรอบด้วยน้ำ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาได้มีการลงทุนเป็นเงินหลายพันล้านดอลล่าร์ในเมือง Auckland ซึ่งทำให้เมืองอันเขียวขจีและน่าหลงใหลแห่งนี้ได้กลายเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยชีวิตชีวา โดยมีสวนสาธารณะ 22 แห่ง เกาะ 50 เกาะและเส้นทางเดินเท้าและปีนเขายาว 500 กิโลเมตรรวมถึงแหล่งช็อปปิ้ง ภัตตาคาร บาร์ คลับ สถานที่แสดงดนตรีสดและผลงานศิลปะ Auckland เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศนิวซีแลนด์และเป็นเมืองที่น่าตื่นตาตื่นใจที่สุด
• Kaikoura
        หมู่บ้าน Kaikoura ซึ่งมีทัศนียภาพงดงามตั้งอยู่ระหว่างเทือกเขา Kaikoura ที่หันหน้าสู่ทะเลและมหาสมุทรแปซิฟิกและจะสวยงามยิ่งขึ้นเมื่อภูเขาปกคลุมด้วยหิมะในช่วงฤดูหนาว นอกจากนี้ Kaikoura ยังมีชื่อเสียงในด้านการได้พบเห็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทางทะเล เช่น ปลาวาฬ แมวน้ำและปลาโลมาที่ว่ายอยู่ในเขตชายฝั่ง และคุณยังสามารถใกล้ชิดกับสัตว์ท้องถิ่นที่เป็นมิตรเหล่านี้ได้โดยการใช้บริการโปรแกรมทัวร์ชมปลาวาฬหรือการพายเรือคายัคทะเลซึ่งออกเดินทางจากเมืองหลายรอบต่อวัน Kaikoura ยังเป็นเมืองที่มีชื่อเสียงในการกินกุ้งมังกรน้ำจืดหรือ crayfish  และที่ดีที่สุดของการกินกุ้งมังกรน้ำจืดคือที่เคบินเล็กๆมากมายที่ตั้งอยู่บนถนนเลียบชายฝั่ง และถ้าคุณโชคดี คุณอาจได้เพลิดเพลินไปกับการชมฝูงแมวน้ำที่เล่นอยู่ตามโขดหินริมทะเล

• Queenstown
        เมือง Queenstown อาจเป็นที่รู้จักในฐานะเมืองหลวงแห่งการผจญภัยของโลกแต่ยังมีสิ่งอื่นอีกมากมายมากกว่าแค่การผจญภัยโลดโผนที่เมืองอันทันสมัยใน South Island แห่งนี้ ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ชื่นชอบกิจกรรมโลดโผนหรือต้องการพักผ่อนหย่อนใจ เมืองอันมีชีวิตชีวาแห่งนี้ตั้งอยู่ในทำเลที่มองเห็นทะเลสาบ Wakatipu อันสวยงามและมีภัตตาคารชั้นยอด แหล่งช็อปปิ้งและชีวิตยามค่ำคืนอันน่าตื่นตาตื่นใจ ในช่วงฤดูหนาวที่นี่เป็นศูนย์รวมสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการเล่นสกี และในช่วงฤดูร้อนก็เป็นที่นิยมในหมู่นักขี่จักรยานภูเขา นักไต่เขาและนักกอล์ฟที่จะเดินทางไปยังไหล่เขาอันเขียวขจีเพื่อทำกิจกรรมต่างๆ
• Franz Joseph และ Fox Glaciers
       ไม่มีที่ใดในโลกที่จะสามารถชมธารน้ำแข็งได้ดีไปกว่าเขตชายฝั่งตะวันตกของนิวซีแลนด์ หมู่บ้าน Franz Joseph และ Fox Glaciers เป็นสถานที่อันสมบูรณ์แบบสำหรับการชมมรดกตกทอดจากยุคน้ำแข็ง โดยมีไกด์นำทางชมธารน้ำแข็งและบริษัทเฮลิคอปเตอร์ในเมืองที่ให้บริการเที่ยวบินชมทัศนียภาพเหนือธารน้ำแข็งและภูเขาที่อยู่โดยรอบ
• Wellington
        เมือง Wellington เป็นศูนย์กลางด้านศิลปะและวัฒนธรรมของประเทศนิวซีแลนด์ คุณจะเพลิดเพลินไปกับอาคารเก่าแก่ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม พิพิธภัณท์ หอศิลปะ ร้านค้าบูติคและคาเฟ่ที่มีอยู่มากมายได้ตลอดทั้งวัน ขณะที่ในยามค่ำคืนก็มีร้านอาหารชั้นยอด บาร์อันมีชีวิตชีวาและสถานที่แสดงดนตรีสดซึ่งจะทำให้คุณสนุกสนานได้ตลอดทั้งคืน เมือง Wellington เป็นสถานที่จัดงานกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ ที่มีชื่อว่าเทศกาลศิลปะนานาชาติแห่งนิวซีแลนด์ซึ่งมีเวทีแสดงตลก ดนตรีและศิลปะที่ดีที่สุดในประเทศนิวซีแลนด์ นอกจากนี้ยังเป็นเมืองที่สวยงาม โดยตั้งอยู่ระหว่างท่าเรืออันงดงามและเทือกเขาป่าไม้อันเขียวชอุ่มและด้วยแหล่งอาศัยของสัตว์ป่า เกาะ หมู่บ้านริมทะเล ชายหาดและสวนสาธารณะที่มีอยู่มากมายทำให้ที่นี่เป็นสวรรค์ของกิจกรรมกลางแจ้งอย่างแท้จริง
• Rotorua
       Rotorua เป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมที่สุดแห่งหนึ่งของ North Island นักท่องเที่ยวเดินทางมาที่นี่เพื่อสัมผัสกับสระโคลน สูดอากาศกำมะถันและเยี่ยมชมบ่อน้ำพุร้อนและบ่อน้ำร้อน นอกจากนี้ Rotorua ยังเป็นสถานที่ที่เหมาะสำหรับการสัมผัสกับวัฒนธรรมชาวเผ่าเมารี ชาวเมารีเคารพบูชาสถานที่แห่งนี้และปัจจุบันประชากรหนึ่งในสามเป็นชาวเผ่าเมารี สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของ Rotorua คือ Te Puia ที่มีการแสดงทางวัฒนธรรมของชาวเมารีและมีการจัดการรับประทานอาหาร hangi (อาหารที่อบด้วยดิน) เคียงข้างกิจกรรมที่เกิดขึ้นใต้ดิน
• Marlborough
       เขตอุตสาหกรรมไวน์ที่มีชื่อเสียงที่สุดของประเทศนิวซีแลนด์แห่งนี้เป็นหนึ่งในสถานที่ผลิตไวน์ Sauvignon Blancs ที่ดีที่สุดของโลก คุณสามารถขี่จักรยานท่ามกลางต้นองุ่นและสำรวจไร่องุ่นที่มีชื่อเสียงที่สุดของโลก เมือง Picton ที่อยู่ใกล้ๆเป็นเมืองที่เหมาะสำหรับการเยี่ยมชมไร่องุ่นหรือเดินทางไปยังอ่าว Marlborough อันสวยงามโดยเรือคายัคทะเลหรือโดยการเดินไปตามทางเดินเลียบทะเลที่มีทัศนียภาพงดงาม
• The Bay of Islands
        ชายหาดที่ทอดยาวสุดสายตา น้ำทะเลใสสะอาดอันอบอุ่นและเกาะมากกว่า 144 เกาะทำให้ที่นี่ได้รับการขนานนามว่า Bay of Islands แห่ง North Island ที่นี่เป็นสถานที่สำหรับการผ่อนคลายอย่างแท้จริง คุณสามารถว่ายน้ำ เล่นน้ำหรือเดินทางไปยังแหล่งตกปลาหรือดำน้ำหากคุณต้องการ เมือง Waitangi มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์เนื่องจากที่นี่เป็นสถานที่ลงนามในสนธิสัญญาซึ่งมอบสิทธิพลเมืองอังกฤษแก่ชาวเมารี
• Otago Peninsula
         หากคุณเป็นคนรักสัตว์ Otagao Peninsula คือสถานที่ที่คุณต้องไปเยี่ยมชม ที่นี่เป็นแหล่งชมสัตว์ป่าได้อย่างใกล้ชิดที่สุดใน South Island ตั้งแต่นกอัลบาทรอสจนถึงแมวน้ำ สิงห์โตทะเล นกเพนกวินและอื่นๆ พื้นที่ชนบทที่รกทึบเป็นฉากหลังอันน่าประทับใจสำหรับการชมสัตว์ป่า นักท่องเที่ยวสามารถล่องเรือไปตามเส้นทางน้ำด้วยโปรแกรมทัวร์ที่มีให้บริการหรือเดินสำรวจไปตามหาดทรายขาวสะอาดและชมเพิงจอดเรือและสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ


ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทย-นิวซีแลนด์


ร่มืรั
               - ลงนามในข้อตกลงทางการค้าระหว่างกัน เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2524 (1981) (ยกเลิกหลังจากมีความตกลง TNZCEP)
               - การประชุม Thailand-New Zealand Economic Consultations เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2540 (1997) และมีการประชุมหารือทางด้านเศรษฐกิจ (Economic Consultation) ไทย - นิวซีแลนด์ ครั้งที่ 1 ระดับปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2540 (1997) ณ กรุงเทพฯ - ลงนามความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้นไทย –นิวซีแลนด์ (TNZCEP) โดยมีนายกรัฐมนตรีของไทยและนิวซีแลนด์ เป็นสักขีพยานในพิธีลงนามในระหว่างการเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ เมื่อวันอังคารที่ 19 เมษายน 2548 (2005)
              - การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้นไทย
   * นิวซีแลนด์ ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2549 (2006) ณ กรุงเทพฯ
              - ลงนามความตกลงเพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์
(Agreement Establishing the ASEAN-Australia-New Zealand Free Trade Area: AANZFTA) เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 (2009)
               - การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้นไทย
    * นิวซีแลนด์ ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2553 (2010) ณ กรุงเวลลิงตัน ประเทศนิวซีแลนด์
               - การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้นไทย
    * นิวซีแลนด์ ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2554 (2011) ณ กรุงเทพฯ
               - การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้นไทย
    * นิวซีแลนด์ ระดับรัฐมนตรี (General Review at Ministerial Level) เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2554 (2011) ณ เมืองฮอนโนลูลู ประเทศสหรัฐอเมริกา


ร่มื
           จัดตั้งสภาธุรกิจนิวซีแลนด์ - ไทย (New Zealand - Thailand Business Council) เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2537 (1994) และ มีการประชุมแล้ว 2 ครั้ง โดยครั้งสุดท้ายจัดขึ้นเมื่อเดือนกันยายน 2539
(1996) ณ กรุงเทพฯ


ค้ว่นิซีด์
1. ภาพรวมการค้า
       ปี 2554 (2011)
            นิวซีแลนด์ป็นคู่ค้าอันดับที่ 36 ของไทย มีมูลค่าการค้าระหว่างกัน 1,442.54 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ร้อยละ 0.32 ของมูลค่าการค้ารวมทั้งหมดของไทย) เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 10.09
        การส่งออก นิวซีแลนด์เป็นตลาดส่งออกที่สาคัญอันดับที่ 38 ของไทย โดยไทยส่งออกไปนิวซีแลนด์เป็นมูลค่า 854.75 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ร้อยละ 0.37 ของการส่งออกทั้งหมด) เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 6.87
        การนำเข้า นิวซีแลนด์เป็นตลาดนำเข้าที่สาคัญอันดับที่ 38 ของไทย โดยไทยนาเข้าจากนิวซีแลนด์เป็นมูลค่า 587.79 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ร้อยละ 0.26 ของการนาเข้าทั้งหมด) เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 15.13
        ดุลการค้า ในช่วงที่ผ่านมา ส่วนใหญ่ไทยเป็นฝ่ายเกินดุลการค้ากับนิวซีแลนด์มาโดยตลอด โดยในปี 2554 (2011) ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้ามูลค่า 266.96 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
        สินค้าส่งออกที่สำคัญ เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง อาหารทะเลกระป๋องแปรรูป เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์พลาสติก เครื่องสาอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ ข้าว เป็นต้น
        สินค้านำเข้าที่สำคัญ เช่น นม และผลิตภัณฑ์นม อาหารปรุงแต่งสาหรับใช้เลี้ยงทารก ไม้ซุง ไม้แปรรูป ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทาจากผักและผลไม้ เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ สัตว์น้าสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูป เนื้อสัตว์สาหรับการบริโภค สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เป็นต้น

การค้าระหว่างไทย – นิวซีแลนด์ มูลค่า: ล้านเหรียญสหรัฐฯ

  ปี                 การค้ารวม        ส่งออก          นำเข้าดุลการค้า
มูลค่า สัดส่วน     % มูลค่า    % มูลค่า     %
2543 381.24 0.29 12.5 184.6 13.94 196.64 11.19 -12.04
2544 392.67 0.31 3 183.27 -0.72 209.4 6.49  -26.14
2545 393.12 0.3 0.12 205.27 12 187.85 -10.29  17.41
2546 475.14 0.31 20.86 265.75 29.46 209.39 11.46 56.36
2547 566.62 0.3 19.25 329.89 24.14 236.72 13.05  93.17
2548 774.11 0.34 36.62 521.28 58.02 252.83 6.8  268.45
2549 846.71 0.33 9.38 525.65 0.84 321.05 26.98          204.6
2550 1,051.96 0.36 24.24 639.59 21.67 412.38 28.44  227.21
2551 1,394.00 0.39 32.51 742.7 16.12 651.3 57.94   91.4
2552 853.05 0.3 -38.85 541.78 -27.05 311.27 -52.29  230.51
2553 1,310.37 0.35 53.61 799.82 47.63 510.55 64.02  289.27
2554 1,442.54 0.35 10.09 854.75 6.87 587.79 15.13  266.96


สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปนิวซีแลนด์
อันดับ        สินค้า               มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐ
2551 2552 2553 2554     %
2008 2009 2010 2011 54/53
   1 รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 207.1 112.1 216.8 188.5 -13.07
   2 เม็ดพลาสติก 82.6 46.3 55.3 69.8 26.24
   3 เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ 12.1 14 27.5 45.6 65.67
   4 เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ 3.2 4.1 30.6 40.6 32.69
   5 ผลิตภัณฑ์ยาง 15.7 16.6 28.3 40 41.04
   6 อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป 31.6 28.6 33.7 35.9 6.4
   7 เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ 38.7 34.5 41.2 34.1 -17.06
   8 ผลิตภัณฑ์พลาสติก 31.7 23.2 26.6 29.7 11.37
   9 เครื่องสาอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว 21.7 20.7 30.1 28.1 -6.91
  10 เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ ส่วนประกอบ 14.3 16.2 24.9 26.5 6.65
รวม 10 รายการ 458.8 316.1 515.2 538.8 4.59
อื่นๆ 283.9 225.7 284.7 315.9 10.99
รวมทั้งสิ้น 742.7 541.8 799.8 854.7 6.87

สินค้านำเข้าสำคัญของไทยจากนิวซีแลนด
อันดับ      สินค้า               มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐ
2551 2552 2553 2554    %
2008 2009 2010 2011 54/53
    1 นมและผลิตภัณฑ์นม 237.1 133.3 245.4 39.4 32.64
    2 อาหารปรุงแต่งสาหรับใช้เลี้ยงทารก 41.3 27.3 29.7 39.4 32.64
    3 ไม้ซุง ไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ 19.6 15.7 27 36.8 36.41
    4 ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทาจากผัก ผลไม้ 16.7 19.6 27.4 36.5 33.06
    5 เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ 23.6 14.4 26.1 27.5 5.48
    6 เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 21.4 10.5 6.5 17.6 172.18
    7 เคมีภัณฑ์ 5.3 18.4 10.6 14.8 39.52
    8 สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูปและกึ่งสำเร็จรูป 12.7 9.7 13.7 13.9 1.12
    9 เนื้อสัตว์สาหรับการบริโภค 6 5.7 8.8 12.3 39.41
   10 สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ 13.8 7.2 10.2 11.3 10.99
รวม 10 รายการ 397.3 261.7 405.4 511.4 26.14
อื่นๆ 255 49.5 105.2 76.4 -27.32
รวมทั้งสิ้น 652.4 311.3 510.5 587.8 15.13
**ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร**

2. การค้าระหว่างไทย-นิวซีแลนด์ ก่อนและหลังมีความตกลง TNZCEP8
           ระยะ 6 ปี ก่อนมีความตกลงฯ (2542 - 2547 (1999 -2004))
               การค้ารวมระหว่างไทย-นิวซีแลนด์ มีมูลค่าเฉลี่ย 424.61 ล้านเหรียญสหรัฐฯ การส่งออก
ของไทยมีมูลค่าเฉลี่ย 221.80 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในขณะที่การนาเข้ามีมูลค่าเฉลี่ย 202.81 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งไทยเป็นฝ่ายเกินดุลเฉลี่ย 18.99 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
           ระยะ 6 ปี หลังความตกลงฯ บังคับใช้ (2548-2553 (2005-2010))
              การค้ารวมระหว่างไทย-นิวซีแลนด์ มีมูลค่าเฉลี่ย 1,038.54 ล้านเหรียญสหรัฐฯ การส่งออก
ของไทยมีมูลค่าเฉลี่ย 628.47 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในขณะที่การนาเข้ามีมูลค่าเฉลี่ย 410.07 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ไทยเป็นฝ่ายเกินดุลเฉลี่ย 218.40 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
               โดยสรุป หลังจากมีความตกลง TNZCEP การค้าระหว่างไทย-นิวซีแลนด์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 2.45 เท่าตัว


ค้ริ ทุว่ – นิซีด์
1. การค้าบริการระหว่างไทยกับนิวซีแลนด์
               การท่องเที่ยว และการศึกษา เป็นสาขาที่สาคัญในการค้าบริการระหว่างสองประเทศ
           ด้านการศึกษา ปี 2553 มีนักศึกษาชาวไทยในนิวซีแลนด์ประมาณ 3,387 คน โดยปัจจุบัน นักศึกษาชาวไทยถือเป็นนักศึกษากลุ่มใหญ่ที่สุดในนิวซีแลนด์เมื่อเทียบกับนักศึกษาจากประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน และใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ในบรรดานักศึกษาจากทั่วโลก
          ด้านการท่องเที่ยว ในปี 2553 มีนักท่องเที่ยวนิวซีแลนด์เดินทางมาประเทศไทยประมาณ 20,000 คน โดยส่วนใหญ่เป็การท่องเที่ยวระยะสั้น (short-term visitor) สาหรับชาวไทยก็นิยมเดินทางไปท่องเที่ยวในนิวซีแลนด์ เนื่องจากมีธรรมชาติสวยงาม และมีความปลอดภัย โดยในปี 2553 มีนักท่องเที่ยวไทยเดินทางไปนิวซีแลนด์ประมาณ 11,489 คน9
2. การลงทุนระหว่างไทยและนิวซีแลนด์
         การลงทุนของนิวซีแลนด์ในไทย
            สำหรับนิวซีแลนด์ ไทยเป็นฐานการลงทุนหนึ่งที่น่าสนใจด้วยขนาดตลาด (market size) และที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่เป็นศูนย์กลาง (Hub) ในภูมิภาคเอเชีย ที่ผ่านมานักลงทุนชาวนิวซีแลนด์ได้เข้ามาเปิดธุรกิจ หรือ ร่วมลงทุนกับผู้ประกอบการไทยในกิจการต่างๆ หลายกิจการ เช่น Air New Zealand (TT Aviation Co Ltd), Australia and New Zealand Banking Group Ltd (ANZ), Fisher and Paykel, Baldwin Boyle Group, CR Asia, Connell Wagner, Fonterra, Hedley Jonh Exporters Ltd (NZ), Joy Sports Co Ltd, Lees Technology Ltd, Massive Software, Mastip Thailand Co Ltd, Nekta (Thailand) Ltd, NCC (New Zealand) Ltd, New Zealand Tourism Board, Pacific Aerospace
         ปัจจุบัน สาขาการลงทุนที่นิวซีแลนด์สนใจที่จะเข้ามาลงทุนในไทย ได้แก่ เทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม (Green technology) เทคโนโลยีด้านข้อมูลด้านสุขภาพ (Health information technology) และอุตสาหกรรมการผลิตที่มีมูลค่าสูง (High value manufacturing)
         ทั้งนี้ การลงทุนของนิวซีแลนด์ที่ได้รับการส่งเสริมจากสานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) มีดังนี้
          ปี 2549 (2006)   โครงการที่เสนอขอรับการส่งเสริมการลงทุนมีจานวน 2 โครงการ มีมูลค่า 37.7 ล้านบาท ในภาคการผลิตผลิตภัณฑ์เหล็กและเครื่องจักรกล และภาคบริการ โดยมีโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน จานวน 3 โครงการ เป็นมูลค่า 80 ล้านบาท ในภาคการผลิตสินค้าอิเล็คทรอนิคส์และผลิตภัณฑ์ ภาคการผลิตผลิตภัณฑ์เหล็กและเครื่องจักรกล และภาคบริการ
          ปี 2550 (2007)   โครงการที่เสนอขอรับการส่งเสริมการลงทุนมีจานวน 5 โครงการ ในอุตสาหกรรมเบา/สิ่งทอ ภาคการผลิตผลิตภัณฑ์เหล็กและเครื่องจักรกล ภาคการผลิตสินค้าอิเล็คทรอนิคส์และผลิตภัณฑ์ ภาคการผลิตเคมีภัณฑ์และกระดาษ และภาคบริการ เป็นมูลค่ารวม 587.9 ล้านบาท โดยมีโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน จานวน 3 โครงการ ในอุตสาหกรรมเบา/สิ่งทอ ภาคการผลิตสินค้าอิเล็คทรอนิคส์และผลิตภัณฑ์ และภาคการผลิตเคมีภัณฑ์และกระดาษ เป็นมูลค่า 427.7 ล้านบาท
         ปี 2551(2008) นิวซีแลนด์มีโครงการที่เสนอขอรับการส่งเสริมการลงทุนในไทย จานวน 4
โครงการ มีมูลค่า 343.3 ล้านบาท โดยมีโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน รวม 5 โครงการ มูลค่า
874.7 ล้านบาท
          ปี 2552 (2009)   นิวซีแลนด์ไม่มีโครงการเสนอขอรับการส่งเสริมการลงทุนในไทย
          ปี 2553 (2010) นิวซีแลนด์ไม่มีโครงการเสนอขอรับการส่งเสริมการลงทุนในไทย แต่มีโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน 1 โครงการ มูลค่า 4.8 ล้านบาท

**หมายเหตุ - โครงการที่เสนอขอรับการส่งเสริมการลงทุนในปีหนึ่ง อาจได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนในปีถัดไป


ทุนิซีด์
               ไทยมีมูลค่าการลงทุนในนิวซีแลนด์ไม่มากนัก คนไทยที่ประกอบธุรกิจและลงทุนใน
นิวซีแลนด์ส่วนใหญ่เป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ถาวร หรือถือสัญชาตินิวซีแลนด์ การลงทุนของไทยในนิวซีแลนด์ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนด้านร้านอาหารไทยและบริษัท Import-export ขนาดเล็กในการสั่งสินค้าประเภทเครื่องปรุงอาหารจากไทย และในระยะหลังมีผู้สนใจเปิดธุรกิจนวดแผนไทยหรือสปา แต่มักประสบปัญหาด้านภาพลักษณ์ การลงทุนขนาดใหญ่ของไทยในนิวซีแลนด์ปัจจุบัน เช่น การร่วมทุนของบริษัท N.C.C. Management & Development ของไทยกับบริษัท Addington Raceway ของนิวซีแลนด์จัดตั้งบริษัท N.C.C. (New Zealand) ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากสภาเทศบาลเมืองไคร้สเชิร์ชให้เป็นผู้บริหารจัดการ Christchurch Town Hall, Christchurch Convention Centre และ Westpac Trust Centre และ โรงแรม Novotel Lakeside ที่เมืองโรโตรัว เป็นต้น

วัฒนธรรม - กิจกรรมทางสังคม



              นิวซีแลนด์เป็นประเทศที่มีลักษณะทางสังคมวัฒนธรรมที่หลากหลาย ซึ่งเป็นผลมาจากการอพยพเข้ามาของประชาชนจากทั่วโลก เริ่มต้นตั้งแต่ชาวเมารีจากแปซิฟิก และต่อมาชาวอังกฤษก็อพยพ เข้ามาช่วงศตวรรษที่ 18

ที่ป็มิ
           ชาวนิวซีแลนด์ส่วนใหญ่จะต้อนรับชาวต่างชาติที่เข้ามายังประเทศของตนด้วยความอบอุ่น พวกเค้าจะเรียกตนเองว่า กีวีชาวนิวซีแลนด์มีความเป็นมิตร ชอบพบปะพูดคุยและแลกเปลี่ยนกับผู้ที่มีวัฒนธรรมต่างกัน ในชีวิตประจำวัน คนนิวซีแลนด์ค่อนข้างจะดำเนินชีวิตแบบสบายๆ แม้กระทั่งการติดต่อกันทางธุรกิจยังเรียกบุคคลอื่นด้วยชื่อแรก

วั
          เผ่าเมารี หรือที่รู้จักกันว่า คนพื้นเมือง” (tangata whenua) ของนิวซีแลนด์ เป็นกลุ่มคนที่ไม่ใช่ชาวยุโรปกลุ่มใหญ่ที่สุด ในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมาภาษาและวัฒนธรรมของชาวเมารีได้นำกลับมาอนุรักษ์ไว้ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติ โดยอยู่บนพื้นฐานของ วัฒนธรรมร่วม ตามสนธิสัญญา Waitangi ที่ทำขึ้นในปี 1840
        วัฒนธรรมของชาวกีวี ได้ซึมซับบางส่วนจากผู้คนที่อพยพมาจากทางเกาะแปซิฟิกและเอเชีย ที่เข้ามาอาศัยอยู่ในนิวซีแลนด์ ดังนั้นก็จะพบเห็นตลาดหรืออาหารเอเชียได้ทั่วไป
        ภาษาอังกฤษและเมารีเป็นภาษาราชการของนิวซีแลนด์ แต่ก็มีชาวนิวซีแลนด์บางส่วนที่อพยพมาจากประเทศที่แตกต่างกัน ทั้งจากยุโรปและแอฟริกา วัฒนธรรมที่หลากหลายนี้จึงส่งผลต่อวิถีชีวิต ชาวกีวีทั้งทางด้าน แฟชั่น ศิลปะและดนตรี

ช้ชีวิร่กั 
        กลุ่มคนที่แตกต่างกันในนิวซีแลนด์สามารถใช้ชีวิตร่วมกันได้อย่างเสมอภาค มีกฎหมายคุ้มครองเรื่องการห้ามแบ่งแยกเชื้อชาติ เพศ หรือความพิการ คนที่ถูกดูถูกหรือละเมิดสิทธิส่วนบุคคลสามารถติดต่อได้ที่ The Human Rights Commission หรือ The Race Relations Conciliator ที่จะคอยช่วยเหลือและแก้ปัญหาในเรื่องนี้

อิป็ตั
        การแบ่งแยกเพศ หรือการพูดจา ก่อกวนหรือกระทำอนาจารกับเพศตรงข้าม ถือเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายและไม่ได้รับการยอมรับในนิวซีแลนด์ แม้กระทั่งในการโฆษณารับสมัครงานก็ต้องใช้คำที่เป็นกลาง สถานที่ทำงานหรือสถาบันการศึกษาจะมีแนวทางที่ชัดเจนสำหรับการคุ้มครอง ผู้ที่ถูกก่อกวนหรือกระทำอนาจารกับเพศตรงข้ามด้วย

กิจ้
ศูนย์วัฒนธรรมเมารี
ชาวนิวซีแลนด์จะใช้ชีวิตทั้งในบ้านและทำกิจกรรมกลางแจ้งภายนอก บ้านเดี่ยวโดยมากจะมีสนามหลังบ้านและมีการจัดบาร์บีคิวกันในบางโอกาส หรือโฮสบางครอบครัวก็จะพาไปเดินป่าหรือไปตามชายทะเลในช่วงวันหยุด ไปเก็บลูกเบอร์รี่ ขี่จักรยาน หรือไปสวนสาธารณะ ซึ่งก็ควรเตรียมรองเท้าและหมวกไปด้วย

การเมืองและสังคม

ชาวเมารี

             นิวซีแลนด์เดิมถูกปกครองโดยชาวเมารี แต่มีนักล่องเรือชาวดัตช์ ชื่อ อเบล แอนชุน ทัสแมนล่องเรือเลียบมาทางนิวซีแลนด์พบเกาะนี้จึงตั้งชื่อว่า Nieuw Zeeland หรือ New Zealand ต่อมากัปตันเจมส์ คุก ได้ล่องเรือมาบ้างและพบว่าชาวเมารีเป็นชนเผ่าสายเลือดนักรบจึงได้ตกลงแลกพืชพันธุ์กับอาวุธจากยุโรป แต่เมื่อมีการสู้รบกันภายในเผ่ามากขึ้นทาให้ชนเผ่าเมารีลดลง อังกฤษจึงได้ส่งคนมาทาสัญญา ที่มีชื่อว่า สนธิสัญญาไวทังกิ (Treaty of Waitangi) และได้กลายเป็นอาณานิคมของอังกฤษตั้งแต่นั้นมา สนธิสัญญาดังกล่าวระบุไว้ว่าจะให้ complete chieftainship แก่ชนเผ่าเมารีของนิวซีแลนด์ แต่ในปัจจุบัน ความหมายของสนธิสัญญานี้ยังคงเป็นข้อพิพาท และเป็นเรื่องที่ก่อให้เกิดการแบ่งแยกและความไม่พอใจ อย่างไรก็ตาม นิวซีแลนด์ประกาศอิสรภาพจากการปกครองของอังกฤษเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2450 (1907) โดยมีการปกครองแบบประชาธิปไตยระบบรัฐสภา และมีพระมหากษัตริย์ของเครือจักรภพเป็นประมุข
              การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งสาคัญมีขึ้นเมื่อปี 2536 (1993) โดยการเปลี่ยนแปลงระบบการเลือกตั้งจากระบบ First Past the Post (FPP) เป็น Mixed Member Proportional (MMP) แบบเยอรมัน ภายใต้ระบบใหม่ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งต้องลงคะแนนเลือกทั้ง ส.ส. ทั่วไปและ ส.ส. ใน party list ซึ่งการเลือกตั้งในระบบนี้ทาให้พรรคการเมืองเล็กมีโอกาสในรัฐสภามากขึ้น และโอกาสที่จะมีรัฐบาลผสมก็มากขึ้นด้วยเช่นกัน

ณ์มืปัจุบั 

จอห์น คีย์ (John Key) 
               เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2554 (2011) นิวซีแลนด์มีการจัดการเลือกตั้งทั่วไปครั้งล่าสุด ซึ่งผลการเลือกตั้งปรากฎว่าพรรค National Party ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีจอห์น คีย์ (John Key) ได้รับเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงร้อยละ 48 ซึ่งถือเป็นคะแนนเสียงสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในรอบ 60 ปี ทาให้พรรค National Party สามารถครองที่นั่งในสภาได้ 60 ที่นั่ง จากทั้งหมด 121 ที่นั่ง ส่งผลให้นายกรัฐมนตรีคีย์ได้เข้าบริหารประเทศเป็นสมัยที่สอง อย่างไรก็ดี แม้ว่าพรรค National Party จะได้รับคะแนนนิยมอย่างท่วมท้น แต่ไม่มากพอที่จะสามารถจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้ทาให้ต้องจัดตั้งรัฐบาลผสม
                นโยบายสำคัญของนายกรัฐมนตรีคีย์ที่วางแผนจะดาเนินการในช่วงที่เป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่สองมี ดังนี้
           นโยบายระยะสั้น :
             - ฟื้นฟูประเทศอย่างต่อเนื่องจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว ณ เมืองไคร์สเชิท เมื่อปลายปี 2553 (2010) และต้นปี 2554 (2011)
             - ลดหนี้สาธารณะของรัฐบาลและการขาดดุลงบประมาณ
           นโยบายระยะกลางและยาว :
             - ส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและประสิทธิภาพการผลิตของประเทศ เพื่อสร้างงาน สร้างรายได้ และยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของชาวนิวซีแลนด์

เศรษฐกิจ


กิ
            จากการปฏิรูประบบเศรษฐกิจแบบครอบคลุมในปลายทศวรรษ1980s และต้นทศวรรษ 1990s ทำให้นิวซีแลนด์มีระบบเศรษฐกิจแบบเปิด และได้พัฒนาเป็นประเทศที่มีความสามารถในการแข่งขันในระดับโลก นิวซีแลนด์มีภาคเกษตรกรรมขนาดใหญ่ซึ่งเป็นฐานการผลิตหลักของประเทศ สินค้าส่งออกสำคัญของนิวซีแลนด์ ได้แก่ สินค้าโภคภัณฑ์ (Commoditiy) ที่ได้จากการเกษตร ประมง และป่าไม้ (อาทิ นมและผลิตภัณท์ ผัก ผลไม้ ปลา และไม้ เป็นต้น) นอกจากนี้ ภาคบริการโดยเฉพาะอย่างยิ่งการท่องเที่ยวเป็นอีกแหล่งรายได้ที่สาคัญของนิวซีแลนด์ ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมเริ่มมีบทบาทเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ในปี 2554 (2011) มีการประมาณการณ์ว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจของนิวซีแลนด์อยู่ที่ระดับร้อยละ 1.5 สาหรับปี 2555 (2012) คาดว่าเศรษฐกิจของนิวซีแลนด์จะมีการขยายตัวประมาณร้อยละ 3 อันเป็นผลจากปัจจัยต่างๆ ได้แก่ การลงทุนที่เกี่ยวเนื่องกับการฟื้นฟูหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหว (reconstruction-related investment) การบริโภคภายในประเทศ และการส่งออก
             นิวซีแลนด์มีข้อได้เปรียบเนื่องจากมีระบบการเมืองที่มั่นคง และมีระบบกฎหมายที่โปร่งใส ซึ่งสร้างความเชื่อมั่นในการประกอบธุรกิจ อย่างไรก็ดี หากมองในแง่โอกาสทางการค้า (Market Opportunity) ข้อจากัดสาคัญของนิวซีแลนด์ คือ จานวนประชากรน้อย และมีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่ห่างไกล (Geographical Isolation) นอกจากนี้ นิวซีแลนด์กาลังเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนแรงงาน (Labour Shortage) โดยสัดส่วนประชากรนิวซีแลนด์ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่สัดส่วนประชากรวัยทางานมีแนวโน้มลดลง ทั้งนี้ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว รัฐบาลนิวซีแลนด์พยายามสนับสนุนให้สตรีชาวนิวซีแลนด์เข้าทางานในภาคเศรษฐกิจมากขึ้น รวมทั้งมีแนวโน้มจ้างงานแรงงานต่างชาติเพิ่มขึ้น


การค้าสินค้า บริการ และการลงทุนระหว่างประเทศ
     การค้าสินค้า 2554 (2011)
           การค้ารวม นิวซีแลนด์มีมูลค่าการค้ารวม 74,669.19 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 2553 (2010) 16.88 %
           การส่งออก นิวซีแลนด์ส่งออกสินค้าเป็นมูลค่า 37,738.24 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 2553 (2010) 20.11%
             สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ นมและผลิตภัณฑ์ เนื้อสัตว์ ไม้ เชื้อเพลิง เครื่องจักร เป็นต้น
             ตลาดส่งออกหลัก    ได้แก่ ออสเตรเลีย จีน สหรัฐ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้
           การนำเข้า นิวซีแลนด์นำเข้าสินค้ามูลค่า 36,930.95 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 2553 (2010) 20.52 %
             สินค้านำเข้าหลัก ได้แก่ เชื้อเพลิง เครื่องจักร เครื่องจักรไฟฟ้า ยานยนต์ พลาสติก เป็นต้น
             แหล่งนาเข้าหลัก ได้แก่ จีน ออสเตรเลีย สหรัฐฯ ญี่ปุ่น สิงคโปร์

      การค้าบริการ
              ภาคบริการเป็นองค์ประกอบสาคัญของเศรษฐกิจนิวซีแลนด์ มีสัดส่วนมากกว่า 70% ของ GDP ประเทศ สาขาบริการสาคัญของนิวซีแลนด์ ได้แก่ การท่องเที่ยว การศึกษา การขนส่ง การบริการทางธุรกิจเป็นต้น3 ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2554 (กรกฎาคม 2553 (2010) - มิถุนายน 2554 (2011)) นิวซีแลนด์ขาดดุลการค้าบริการระหว่างประเทศ โดยมีการส่งออกบริการเป็นมูลค่า 12,523 ล้านเหรียญนิวซีแลนด์ และนาเข้าบริการมูลค่า 13,448 ล้านเหรียญนิวซีแลนด์

วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

มารู้จัก New Zealand


ไฟล์:Coat of Arms of New Zealand.svg
ตราแผ่นดิน
ธงชาติ    
             นิวซีแลนด์ (New Zealand) หมายถึง "ดินแดนแห่งเมฆยาวสีขาว" หรือ Niu Tirenio ซึ่งเป็นการทับศัพท์จากภาษาอังกฤษ เป็นประเทศที่ประกอบด้วยเกาะใหญ่ 2 เกาะ รวมถึงเกาะเล็ก ๆ จำนวนหนึ่ง ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนตะวันตกเฉียงใต้ - นิวซีแลนด์มีเมืองหลวงชื่อเวลลิงตัน

นิวซีแลนด์เป็นประเทศที่ห่างไกลจากประเทศอื่น ๆ มากที่สุด ประเทศที่อยู่ใกล้ที่สุด คือ ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะใหญ่ 2,000 กิโลเมตร โดยที่มีทะเลแทสมันกั้นกลาง ดินแดนเดียวที่อยู่ทางใต้คือทวีปแอนตาร์กติกา และทางเหนือคือนิวแคลิโดเนียฟิจิ และตองกา

นิวซีแลนด์ได้กลายเป็นอาณานิคมของอังกฤษด้วยสนธิสัญญาไวทังกิ (Treaty of Waitangi) เมื่อปี พ.ศ. 2383 ซึ่งได้สัญญาไว้ว่าจะให้ "complete chieftainship" (tino rangatiratanga) แก่ชาวมาวรีพื้นเมืองของนิวซีแลนด์ ในปัจจุบัน ความหมายที่แน่นอนของสนธิสัญญานี้ยังคงเป็นข้อพิพาท และยังคงเป็นเรื่องที่ก่อให้เกิดการแบ่งแยกและความไม่พอใจ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2383 นิวซีแลนด์ได้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนเป็นประเทศอิสระที่มีรัฐสภาในระบอบประชาธิปไตย และอยู่ภายใต้พระมหากษัตริย์ของกษัตริย์แห่งนิวซีแลนด์ ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวกับประเทศอื่นในเครือจักรภพ นิวซีแลนด์รับผิดชอบการต่างประเทศของหมู่เกาะคุกและนีอูเอ ซึ่งปกครองตนเองและปกครองโตเกเลาเป็นเมืองขึ้น[ต้องการอ้างอิง]

พื้นที่ส่วนใหญ่ของนิวซีแลนด์มีภูมิอากาศเขตอบอุ่น และภูมิประเทศที่มีความหลากหลายและสวยงาม เศรษฐกิจของนิวซีแลนด์เน้นการค้าโดยมีฐานจากการเกษตร ชาวนิวซีแลนด์โดยทั่วไปเดินทางมาก และสนับสนุนการร่วมมือกันระหว่างประเทศและสิ่งแวดล้อม กิจกรรมภายนอกเป็นกิจกรรมที่นิยมกันโดยเฉพาะกีฬาต่าง ๆ คือ รักบี้ คริกเกต และ เนตบอล รวมถึง กีฬาเอกซ์ตรีมสปอร์ตและการเดินไกล


วัติร์

             นิวซีแลนด์นั้นเดิมถูกปกครองโดยชาวเมารี แต่มีนักล่องเรือชาวดัตช์ ชื่อ อาเบล แยนซุน ทัสแมน ได้ล่องเรือเลียบมาทางออสเตรเลียและได้พบเกาะนิวซีแลนด์เข้า และได้พบกับชาวเมารีที่ส่วนใหญ่นั้นเป็นมิตรจึงได้ตั้งชื่อเกาะนี้ว่า Nieuw Zeeland หรือ New Zealand จากนั้นชื่อเสียงของนิวซีแลนด์ก็เป็นที่รู้จักกันในยุโรป เพราะมีธรรมชาติที่สวยงามเหมาะกับการเพาะปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์มาก ต่อมากัปตันเจมส์ คุก ได้ล่องเรือมาบ้าง แต่โชคดีที่มีคนบนเรือสามารถพูดภาษาไวทิงกิได้บ้าง จึงเจรจากับชาวเมารีได้ และพบว่าชาวเมารีเป็นชนเผ่าสายเลือดนับรบ จึงได้ตกลงแลกพืชพันธุ์กับอาวุธจากทางยุโรป และต่อมาเมื่อชาวเมารีมีอาวุธมากจึงสู้รบกันจนชนเผ่าเมารีลดลง ทางอังกฤษจึงได้ส่งคนมาทำสัญญา ที่มีชื่อว่า สนธิสัญญาไวทังกิ ขึ้น และส่งคนมาสำเร็จราชการแทนชื่อ วิลเลียม ฮอบสัน


มื

                นิวซีแลนด์มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา และราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ประมุขแห่งรัฐคือสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 และมีตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เป็นผู้แทนพระองค์ในนิวซีแลนด์

            รัฐธรรมนูญของนิวซีแลนด์เป็นแบบไม่เป็นลายลักษณ์อักษร คือไม่มีกฎหมายฉบับใดฉบับหนึ่งที่บัญญัติถึงระบบการเมืองการปกครอง แต่จะมีกฎหมายอื่นๆ หลายฉบับมาประกอบกัน เช่น Constitution ACT1986 ซึ่งเป็นพระราชบัญญัติที่ได้รวบรวมเอาหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญที่กระจัดกระจายอยู่มาบัญญัติไว้ด้วพระราชบัญญัติเลือกตั้ง เป็นต้น แต่พระราชบัญญัติเหล่านี้ไม่มีบทบัญญัติ


บ่

                ตอนที่เริ่มตั้งถิ่นฐาน นิวซีแลนด์ได้แบ่งเป็นจังหวัดต่าง ๆ  ซึ่งได้ยกเลิกไปใน พ.ศ. 2419 เพื่อให้จัดการปกครองแบบศูนย์กลาง เนื่องด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ ทำให้นิวซีแลนด์ไม่มีการแบ่งการปกครองเป็นระดับรัฐ จังหวัด หรือเขต นอกจากรัฐบาลท้องถิ่น อย่างไรก็ดี ความภูมิใจในระดับจังหวัด ยังคงมีอยู่ และมีการแข่งขันอย่างรุนแรงในทั้งด้านกีฬาและวัฒนธรรม

                ตั้งแต่ พ.ศ. 2419 รัฐบาลท้องถิ่นได้ปกครองภูมิภาคต่าง ๆ ของนิวซีแลนด์ เนื่องจากแต่เดิมเป็นอาณานิคมของอังกฤษ รัฐบาลท้องถิ่นของนิวซีแลนด์จึงได้ออกแบบตามโครงสร้างรัฐบาลท้องถิ่นของอังกฤษ โดยมีสภาท้องถิ่นระดับเมือง โบโร (borough) และเคาน์ตี (county) ตามเวลาที่เปลี่ยนไป บางสภาได้รวมกัน หรือเปลี่ยนอาณาเขตตามข้อตกลงร่วมกัน และมีการสร้างสภาแห่งใหม่บางแห่ง ใน พ.ศ. 2532 รัฐบาลได้จัดรัฐบาลท้องถิ่นใหม่ทั้งหมด เป็นแบบ 2 ระดับ ในปัจจุบัน คือ สภาภูมิภาค (regional councils) และ สภาดินแดน (territorial authorities)

                 ปัจจุบัน นิวซีแลนด์มีสภาภูมิภาค 12 แห่ง สำหรับการปกครองเกี่ยวกับเรื่องของสิ่งแวดล้อมและการขนส่ง และสภาดินแดน 74 แห่ง ที่ดูแลด้านสาธารณูปโภค การสร้างถนน การระบายน้ำเสีย การอนุญาตการก่อสร้าง และเรื่องอื่น ๆ ภายในท้องถิ่น สภาดินแดนมี 74 แห่ง แบ่งออกเป็นสภานคร (city council) 16 แห่ง สภาเขต (district council) 57 แห่ง และสภาหมู่เกาะแชทัม (Chatham Islands Council) สภาดินแดน 4 แห่ง (1 นครและ 3 เขต) และสภาหมู่เกาะแชทัมทำหน้าที่เช่นเดียวกับสภาภูมิภาค จึงเรียกว่า unitary authorities เขตของดินแดนไม่จัดเป็นเขตย่อยของเขตของสภาภูมิภาค และบางดินแดนมีการคร่อมเขตของสภาภูมิภาค


ภูมิร์

                    ประเทศนิวซีแลนด์แบ่งออกเป็น 2 เกาะหลัก และเกาะเล็กๆ อีกหลายเกาะตั้งอยู่กลางกระแสน้ำแบ่งซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้ ทางเหนือและทางใต้ของเกาะถูกแบ่งโดยช่องแคบ Cook ซึ่งมีความกว้าง 20 กิโลเมตร และเป็นจุดที่แคบที่สุดของเกาะ ปริมาณพื้นที่ของประเทศคือ 268,680 ตารางกิโลเมตร ( 103,738 ตารางไมล์ ) มีขนาดเล็กกว่าประเทศอิตาลีและประเทศญี่ปุ่นเล็กน้อย และเล็กกว่าสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือด้วย เกาะเล็กกว่าที่มีผู้คนอาศัยอยู่และมีความสำคัญประกอบไปด้วยเกาะ Stewart Island/Rakiura; เกาะ Waiheke, เกาะ Great Barrier และเกาะ Chatham ประเทศนิวซีแลนด์มีแหล่งน้ำครอบคลุมทั่วประเทศและเป็นประเทศอันดับที่ 7 ของโลกที่มีพื้นที่ทางน้ำซึ่งมีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจครอบคลุมถึง 4 ล้านตารางกิโลเมตร ( 1.5 ล้านตารางไมล์ ) มากกว่าขนาดพื้นที่ดินถึง 15 เท่า จุดที่สูงที่สุดของประเทศนิวซีแลนด์คือภูเขา Aoraki/Mount Cook ซึ่งมีความสูง 3754 เมตร ( 12,320 ฟุต ) มีจุดที่สูงที่สุด 18 แห่งที่มีความสูงเกิน 3,000 เมตร ( 10,000 ฟุต ) อยู่ทางใต้ของเกาะ ทางเหนือของเกาะมีพื้นที่ที่เป็นภูเขาน้อยกว่าทางใต้ แต่เป็นที่รู้กันว่าภูเขาเหล่านั้นเป็นภูเขาไฟ ภูเขาที่สูงที่สุดของเกาะทางเหนือคือภูเขา Mount Ruapehu ( 2,797 เมตร / 9,177 ฟุต ) และเป็นภูเขาไฟที่ยังประทุอยู่ มีพื้นที่หลายแห่งที่สวยงามน่าตื่นตาตื่นใจและถูกนำไปเป็นฉากสำหรับถ่ายทำรายการทีวีและภาพยนตร์ เช่น ภาพยนตร์เรื่องเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ และ มหาบุรุษซามูไร


ภูมิ

                  ประกอบด้วย 4 ฤดูกาล ได้แก่
      *  ฤดูร้อน ธันวาคม - กุมภาพันธ์
      *  ฤดูใบไม้ร่วง มีนาคม – พฤษภาคม
      *  ฤดูหนาว มิถุนายน – สิงหาคม
      *  ฤดูใบไม้ผลิ กันยายน – พฤศจิกายน
             เนื่องจากตั้งอยู่ในโซนอากาศอบอุ่น ทำให้มีอากาศอบอุ่นชุ่มชื้นตลอดปี ฤดูร้อนอากาศค่อนข้างเย็น ฤดูหนาวไม่หนาวจัดมาก มีฝนตกตลอดปี ได้รับอิทธิพลจากลมประจำที่พัดผ่าน คือ ลมฝ่ายตะวันตก กระแสน้ำอุ่นออสเตรเลียตะวันออก อากาศแตกต่างกันดังนี้
       *  เกาะเหนือ มีอากาศอบอุ่นชื้นทั่วเกาะ
       *  เกาะใต้ชายฝั่งตะวันตก ฝนชุกกว่าชายฝั่งตะวันออก
       *  เกาะใต้ ช่วงฤดูใบไม้ร่วงย่างเข้าสู่ฤดูหนาวจะมีหิมะปกคลุมอยู่ทั่ว และมีมากที่ Mt.Cook