วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การเมืองและสังคม

ชาวเมารี

             นิวซีแลนด์เดิมถูกปกครองโดยชาวเมารี แต่มีนักล่องเรือชาวดัตช์ ชื่อ อเบล แอนชุน ทัสแมนล่องเรือเลียบมาทางนิวซีแลนด์พบเกาะนี้จึงตั้งชื่อว่า Nieuw Zeeland หรือ New Zealand ต่อมากัปตันเจมส์ คุก ได้ล่องเรือมาบ้างและพบว่าชาวเมารีเป็นชนเผ่าสายเลือดนักรบจึงได้ตกลงแลกพืชพันธุ์กับอาวุธจากยุโรป แต่เมื่อมีการสู้รบกันภายในเผ่ามากขึ้นทาให้ชนเผ่าเมารีลดลง อังกฤษจึงได้ส่งคนมาทาสัญญา ที่มีชื่อว่า สนธิสัญญาไวทังกิ (Treaty of Waitangi) และได้กลายเป็นอาณานิคมของอังกฤษตั้งแต่นั้นมา สนธิสัญญาดังกล่าวระบุไว้ว่าจะให้ complete chieftainship แก่ชนเผ่าเมารีของนิวซีแลนด์ แต่ในปัจจุบัน ความหมายของสนธิสัญญานี้ยังคงเป็นข้อพิพาท และเป็นเรื่องที่ก่อให้เกิดการแบ่งแยกและความไม่พอใจ อย่างไรก็ตาม นิวซีแลนด์ประกาศอิสรภาพจากการปกครองของอังกฤษเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2450 (1907) โดยมีการปกครองแบบประชาธิปไตยระบบรัฐสภา และมีพระมหากษัตริย์ของเครือจักรภพเป็นประมุข
              การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งสาคัญมีขึ้นเมื่อปี 2536 (1993) โดยการเปลี่ยนแปลงระบบการเลือกตั้งจากระบบ First Past the Post (FPP) เป็น Mixed Member Proportional (MMP) แบบเยอรมัน ภายใต้ระบบใหม่ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งต้องลงคะแนนเลือกทั้ง ส.ส. ทั่วไปและ ส.ส. ใน party list ซึ่งการเลือกตั้งในระบบนี้ทาให้พรรคการเมืองเล็กมีโอกาสในรัฐสภามากขึ้น และโอกาสที่จะมีรัฐบาลผสมก็มากขึ้นด้วยเช่นกัน

ณ์มืปัจุบั 

จอห์น คีย์ (John Key) 
               เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2554 (2011) นิวซีแลนด์มีการจัดการเลือกตั้งทั่วไปครั้งล่าสุด ซึ่งผลการเลือกตั้งปรากฎว่าพรรค National Party ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีจอห์น คีย์ (John Key) ได้รับเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงร้อยละ 48 ซึ่งถือเป็นคะแนนเสียงสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในรอบ 60 ปี ทาให้พรรค National Party สามารถครองที่นั่งในสภาได้ 60 ที่นั่ง จากทั้งหมด 121 ที่นั่ง ส่งผลให้นายกรัฐมนตรีคีย์ได้เข้าบริหารประเทศเป็นสมัยที่สอง อย่างไรก็ดี แม้ว่าพรรค National Party จะได้รับคะแนนนิยมอย่างท่วมท้น แต่ไม่มากพอที่จะสามารถจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้ทาให้ต้องจัดตั้งรัฐบาลผสม
                นโยบายสำคัญของนายกรัฐมนตรีคีย์ที่วางแผนจะดาเนินการในช่วงที่เป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่สองมี ดังนี้
           นโยบายระยะสั้น :
             - ฟื้นฟูประเทศอย่างต่อเนื่องจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว ณ เมืองไคร์สเชิท เมื่อปลายปี 2553 (2010) และต้นปี 2554 (2011)
             - ลดหนี้สาธารณะของรัฐบาลและการขาดดุลงบประมาณ
           นโยบายระยะกลางและยาว :
             - ส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและประสิทธิภาพการผลิตของประเทศ เพื่อสร้างงาน สร้างรายได้ และยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของชาวนิวซีแลนด์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น