วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทย-นิวซีแลนด์


ร่มืรั
               - ลงนามในข้อตกลงทางการค้าระหว่างกัน เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2524 (1981) (ยกเลิกหลังจากมีความตกลง TNZCEP)
               - การประชุม Thailand-New Zealand Economic Consultations เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2540 (1997) และมีการประชุมหารือทางด้านเศรษฐกิจ (Economic Consultation) ไทย - นิวซีแลนด์ ครั้งที่ 1 ระดับปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2540 (1997) ณ กรุงเทพฯ - ลงนามความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้นไทย –นิวซีแลนด์ (TNZCEP) โดยมีนายกรัฐมนตรีของไทยและนิวซีแลนด์ เป็นสักขีพยานในพิธีลงนามในระหว่างการเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ เมื่อวันอังคารที่ 19 เมษายน 2548 (2005)
              - การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้นไทย
   * นิวซีแลนด์ ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2549 (2006) ณ กรุงเทพฯ
              - ลงนามความตกลงเพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์
(Agreement Establishing the ASEAN-Australia-New Zealand Free Trade Area: AANZFTA) เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 (2009)
               - การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้นไทย
    * นิวซีแลนด์ ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2553 (2010) ณ กรุงเวลลิงตัน ประเทศนิวซีแลนด์
               - การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้นไทย
    * นิวซีแลนด์ ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2554 (2011) ณ กรุงเทพฯ
               - การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้นไทย
    * นิวซีแลนด์ ระดับรัฐมนตรี (General Review at Ministerial Level) เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2554 (2011) ณ เมืองฮอนโนลูลู ประเทศสหรัฐอเมริกา


ร่มื
           จัดตั้งสภาธุรกิจนิวซีแลนด์ - ไทย (New Zealand - Thailand Business Council) เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2537 (1994) และ มีการประชุมแล้ว 2 ครั้ง โดยครั้งสุดท้ายจัดขึ้นเมื่อเดือนกันยายน 2539
(1996) ณ กรุงเทพฯ


ค้ว่นิซีด์
1. ภาพรวมการค้า
       ปี 2554 (2011)
            นิวซีแลนด์ป็นคู่ค้าอันดับที่ 36 ของไทย มีมูลค่าการค้าระหว่างกัน 1,442.54 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ร้อยละ 0.32 ของมูลค่าการค้ารวมทั้งหมดของไทย) เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 10.09
        การส่งออก นิวซีแลนด์เป็นตลาดส่งออกที่สาคัญอันดับที่ 38 ของไทย โดยไทยส่งออกไปนิวซีแลนด์เป็นมูลค่า 854.75 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ร้อยละ 0.37 ของการส่งออกทั้งหมด) เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 6.87
        การนำเข้า นิวซีแลนด์เป็นตลาดนำเข้าที่สาคัญอันดับที่ 38 ของไทย โดยไทยนาเข้าจากนิวซีแลนด์เป็นมูลค่า 587.79 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ร้อยละ 0.26 ของการนาเข้าทั้งหมด) เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 15.13
        ดุลการค้า ในช่วงที่ผ่านมา ส่วนใหญ่ไทยเป็นฝ่ายเกินดุลการค้ากับนิวซีแลนด์มาโดยตลอด โดยในปี 2554 (2011) ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้ามูลค่า 266.96 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
        สินค้าส่งออกที่สำคัญ เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง อาหารทะเลกระป๋องแปรรูป เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์พลาสติก เครื่องสาอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ ข้าว เป็นต้น
        สินค้านำเข้าที่สำคัญ เช่น นม และผลิตภัณฑ์นม อาหารปรุงแต่งสาหรับใช้เลี้ยงทารก ไม้ซุง ไม้แปรรูป ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทาจากผักและผลไม้ เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ สัตว์น้าสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูป เนื้อสัตว์สาหรับการบริโภค สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เป็นต้น

การค้าระหว่างไทย – นิวซีแลนด์ มูลค่า: ล้านเหรียญสหรัฐฯ

  ปี                 การค้ารวม        ส่งออก          นำเข้าดุลการค้า
มูลค่า สัดส่วน     % มูลค่า    % มูลค่า     %
2543 381.24 0.29 12.5 184.6 13.94 196.64 11.19 -12.04
2544 392.67 0.31 3 183.27 -0.72 209.4 6.49  -26.14
2545 393.12 0.3 0.12 205.27 12 187.85 -10.29  17.41
2546 475.14 0.31 20.86 265.75 29.46 209.39 11.46 56.36
2547 566.62 0.3 19.25 329.89 24.14 236.72 13.05  93.17
2548 774.11 0.34 36.62 521.28 58.02 252.83 6.8  268.45
2549 846.71 0.33 9.38 525.65 0.84 321.05 26.98          204.6
2550 1,051.96 0.36 24.24 639.59 21.67 412.38 28.44  227.21
2551 1,394.00 0.39 32.51 742.7 16.12 651.3 57.94   91.4
2552 853.05 0.3 -38.85 541.78 -27.05 311.27 -52.29  230.51
2553 1,310.37 0.35 53.61 799.82 47.63 510.55 64.02  289.27
2554 1,442.54 0.35 10.09 854.75 6.87 587.79 15.13  266.96


สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปนิวซีแลนด์
อันดับ        สินค้า               มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐ
2551 2552 2553 2554     %
2008 2009 2010 2011 54/53
   1 รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 207.1 112.1 216.8 188.5 -13.07
   2 เม็ดพลาสติก 82.6 46.3 55.3 69.8 26.24
   3 เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ 12.1 14 27.5 45.6 65.67
   4 เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ 3.2 4.1 30.6 40.6 32.69
   5 ผลิตภัณฑ์ยาง 15.7 16.6 28.3 40 41.04
   6 อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป 31.6 28.6 33.7 35.9 6.4
   7 เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ 38.7 34.5 41.2 34.1 -17.06
   8 ผลิตภัณฑ์พลาสติก 31.7 23.2 26.6 29.7 11.37
   9 เครื่องสาอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว 21.7 20.7 30.1 28.1 -6.91
  10 เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ ส่วนประกอบ 14.3 16.2 24.9 26.5 6.65
รวม 10 รายการ 458.8 316.1 515.2 538.8 4.59
อื่นๆ 283.9 225.7 284.7 315.9 10.99
รวมทั้งสิ้น 742.7 541.8 799.8 854.7 6.87

สินค้านำเข้าสำคัญของไทยจากนิวซีแลนด
อันดับ      สินค้า               มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐ
2551 2552 2553 2554    %
2008 2009 2010 2011 54/53
    1 นมและผลิตภัณฑ์นม 237.1 133.3 245.4 39.4 32.64
    2 อาหารปรุงแต่งสาหรับใช้เลี้ยงทารก 41.3 27.3 29.7 39.4 32.64
    3 ไม้ซุง ไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ 19.6 15.7 27 36.8 36.41
    4 ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทาจากผัก ผลไม้ 16.7 19.6 27.4 36.5 33.06
    5 เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ 23.6 14.4 26.1 27.5 5.48
    6 เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 21.4 10.5 6.5 17.6 172.18
    7 เคมีภัณฑ์ 5.3 18.4 10.6 14.8 39.52
    8 สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูปและกึ่งสำเร็จรูป 12.7 9.7 13.7 13.9 1.12
    9 เนื้อสัตว์สาหรับการบริโภค 6 5.7 8.8 12.3 39.41
   10 สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ 13.8 7.2 10.2 11.3 10.99
รวม 10 รายการ 397.3 261.7 405.4 511.4 26.14
อื่นๆ 255 49.5 105.2 76.4 -27.32
รวมทั้งสิ้น 652.4 311.3 510.5 587.8 15.13
**ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร**

2. การค้าระหว่างไทย-นิวซีแลนด์ ก่อนและหลังมีความตกลง TNZCEP8
           ระยะ 6 ปี ก่อนมีความตกลงฯ (2542 - 2547 (1999 -2004))
               การค้ารวมระหว่างไทย-นิวซีแลนด์ มีมูลค่าเฉลี่ย 424.61 ล้านเหรียญสหรัฐฯ การส่งออก
ของไทยมีมูลค่าเฉลี่ย 221.80 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในขณะที่การนาเข้ามีมูลค่าเฉลี่ย 202.81 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งไทยเป็นฝ่ายเกินดุลเฉลี่ย 18.99 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
           ระยะ 6 ปี หลังความตกลงฯ บังคับใช้ (2548-2553 (2005-2010))
              การค้ารวมระหว่างไทย-นิวซีแลนด์ มีมูลค่าเฉลี่ย 1,038.54 ล้านเหรียญสหรัฐฯ การส่งออก
ของไทยมีมูลค่าเฉลี่ย 628.47 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในขณะที่การนาเข้ามีมูลค่าเฉลี่ย 410.07 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ไทยเป็นฝ่ายเกินดุลเฉลี่ย 218.40 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
               โดยสรุป หลังจากมีความตกลง TNZCEP การค้าระหว่างไทย-นิวซีแลนด์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 2.45 เท่าตัว


ค้ริ ทุว่ – นิซีด์
1. การค้าบริการระหว่างไทยกับนิวซีแลนด์
               การท่องเที่ยว และการศึกษา เป็นสาขาที่สาคัญในการค้าบริการระหว่างสองประเทศ
           ด้านการศึกษา ปี 2553 มีนักศึกษาชาวไทยในนิวซีแลนด์ประมาณ 3,387 คน โดยปัจจุบัน นักศึกษาชาวไทยถือเป็นนักศึกษากลุ่มใหญ่ที่สุดในนิวซีแลนด์เมื่อเทียบกับนักศึกษาจากประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน และใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ในบรรดานักศึกษาจากทั่วโลก
          ด้านการท่องเที่ยว ในปี 2553 มีนักท่องเที่ยวนิวซีแลนด์เดินทางมาประเทศไทยประมาณ 20,000 คน โดยส่วนใหญ่เป็การท่องเที่ยวระยะสั้น (short-term visitor) สาหรับชาวไทยก็นิยมเดินทางไปท่องเที่ยวในนิวซีแลนด์ เนื่องจากมีธรรมชาติสวยงาม และมีความปลอดภัย โดยในปี 2553 มีนักท่องเที่ยวไทยเดินทางไปนิวซีแลนด์ประมาณ 11,489 คน9
2. การลงทุนระหว่างไทยและนิวซีแลนด์
         การลงทุนของนิวซีแลนด์ในไทย
            สำหรับนิวซีแลนด์ ไทยเป็นฐานการลงทุนหนึ่งที่น่าสนใจด้วยขนาดตลาด (market size) และที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่เป็นศูนย์กลาง (Hub) ในภูมิภาคเอเชีย ที่ผ่านมานักลงทุนชาวนิวซีแลนด์ได้เข้ามาเปิดธุรกิจ หรือ ร่วมลงทุนกับผู้ประกอบการไทยในกิจการต่างๆ หลายกิจการ เช่น Air New Zealand (TT Aviation Co Ltd), Australia and New Zealand Banking Group Ltd (ANZ), Fisher and Paykel, Baldwin Boyle Group, CR Asia, Connell Wagner, Fonterra, Hedley Jonh Exporters Ltd (NZ), Joy Sports Co Ltd, Lees Technology Ltd, Massive Software, Mastip Thailand Co Ltd, Nekta (Thailand) Ltd, NCC (New Zealand) Ltd, New Zealand Tourism Board, Pacific Aerospace
         ปัจจุบัน สาขาการลงทุนที่นิวซีแลนด์สนใจที่จะเข้ามาลงทุนในไทย ได้แก่ เทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม (Green technology) เทคโนโลยีด้านข้อมูลด้านสุขภาพ (Health information technology) และอุตสาหกรรมการผลิตที่มีมูลค่าสูง (High value manufacturing)
         ทั้งนี้ การลงทุนของนิวซีแลนด์ที่ได้รับการส่งเสริมจากสานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) มีดังนี้
          ปี 2549 (2006)   โครงการที่เสนอขอรับการส่งเสริมการลงทุนมีจานวน 2 โครงการ มีมูลค่า 37.7 ล้านบาท ในภาคการผลิตผลิตภัณฑ์เหล็กและเครื่องจักรกล และภาคบริการ โดยมีโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน จานวน 3 โครงการ เป็นมูลค่า 80 ล้านบาท ในภาคการผลิตสินค้าอิเล็คทรอนิคส์และผลิตภัณฑ์ ภาคการผลิตผลิตภัณฑ์เหล็กและเครื่องจักรกล และภาคบริการ
          ปี 2550 (2007)   โครงการที่เสนอขอรับการส่งเสริมการลงทุนมีจานวน 5 โครงการ ในอุตสาหกรรมเบา/สิ่งทอ ภาคการผลิตผลิตภัณฑ์เหล็กและเครื่องจักรกล ภาคการผลิตสินค้าอิเล็คทรอนิคส์และผลิตภัณฑ์ ภาคการผลิตเคมีภัณฑ์และกระดาษ และภาคบริการ เป็นมูลค่ารวม 587.9 ล้านบาท โดยมีโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน จานวน 3 โครงการ ในอุตสาหกรรมเบา/สิ่งทอ ภาคการผลิตสินค้าอิเล็คทรอนิคส์และผลิตภัณฑ์ และภาคการผลิตเคมีภัณฑ์และกระดาษ เป็นมูลค่า 427.7 ล้านบาท
         ปี 2551(2008) นิวซีแลนด์มีโครงการที่เสนอขอรับการส่งเสริมการลงทุนในไทย จานวน 4
โครงการ มีมูลค่า 343.3 ล้านบาท โดยมีโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน รวม 5 โครงการ มูลค่า
874.7 ล้านบาท
          ปี 2552 (2009)   นิวซีแลนด์ไม่มีโครงการเสนอขอรับการส่งเสริมการลงทุนในไทย
          ปี 2553 (2010) นิวซีแลนด์ไม่มีโครงการเสนอขอรับการส่งเสริมการลงทุนในไทย แต่มีโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน 1 โครงการ มูลค่า 4.8 ล้านบาท

**หมายเหตุ - โครงการที่เสนอขอรับการส่งเสริมการลงทุนในปีหนึ่ง อาจได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนในปีถัดไป


ทุนิซีด์
               ไทยมีมูลค่าการลงทุนในนิวซีแลนด์ไม่มากนัก คนไทยที่ประกอบธุรกิจและลงทุนใน
นิวซีแลนด์ส่วนใหญ่เป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ถาวร หรือถือสัญชาตินิวซีแลนด์ การลงทุนของไทยในนิวซีแลนด์ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนด้านร้านอาหารไทยและบริษัท Import-export ขนาดเล็กในการสั่งสินค้าประเภทเครื่องปรุงอาหารจากไทย และในระยะหลังมีผู้สนใจเปิดธุรกิจนวดแผนไทยหรือสปา แต่มักประสบปัญหาด้านภาพลักษณ์ การลงทุนขนาดใหญ่ของไทยในนิวซีแลนด์ปัจจุบัน เช่น การร่วมทุนของบริษัท N.C.C. Management & Development ของไทยกับบริษัท Addington Raceway ของนิวซีแลนด์จัดตั้งบริษัท N.C.C. (New Zealand) ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากสภาเทศบาลเมืองไคร้สเชิร์ชให้เป็นผู้บริหารจัดการ Christchurch Town Hall, Christchurch Convention Centre และ Westpac Trust Centre และ โรงแรม Novotel Lakeside ที่เมืองโรโตรัว เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น